วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

การรีเอ็นจิเนียริ่งสำนักงาน

คาวมหมายของรีเอ็นจิเนียริ่ง

ไมเคิล แฮมเมอร์ ได้เขียนหนังสือชื่อ Reengineering The Corporation ในปี 1993 ริเอ็นจิเนียริ่ง หรือ การรื้อปรับระบบ มีความหมายหลายความหมาย ดังนี้
  1. หมายถึง การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน การทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนาน แล้วหากระบวนการใหม่ที่ทันสมัย ตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ

  2. หมายถึง การพิจารณาพื้นฐานและการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจอีกครั้ง อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign) เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ติดอยู่กับกฎข้อบังคับเดิม

  3. หมายถึง รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่ มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคน เป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจกรรมขึ้นมาใหม่ การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์กร ทั้งการตลาด การผลิต บุคลากร การบริการและทุกระบบ ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ ซึ่งมีหลักการในการรีเอ็นจิเนียริ่ง 3 ประการ คือ
  • กระบวนการใดที่มีปัญหาหนักมากที่สุด

  • กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด

  • ความเป็นไปได้ที่จะประสบผู้สำเร็จในการเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้
  1. ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ

  2. ต้องอาศัยริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน

  3. สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน

  4. การออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ

  5. การดำเนินการกับที่ปรึกษา ควรให้เข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในองค์การเพื่อถ่ายทอดให้ถึงระดับล่าง

  6. การผนวกกิจกรรมของระดับบนสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกัน


แหล่งที่มา :http://www.itie.org/eqi/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=93821